วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552

ความหมายของอิสลาม



อิส ลามแตกต่างกับความศรัทธาชนิดอื่น เริ่มจากที่ชื่อของศาสนานี้ คือ "อิสลาม" ไม่ได้มาจากชื่อผู้ก่อตั้ง เช่น พุทธศาสนาและคริสตศาสนา หรือมาจากชื่อเผ่าพันธ์และเชื้อชาติ เช่น ศาสนายิว หรือเกี่ยวข้องกับแผ่นดิน หรือชื่อของดินแดน เช่น ศาสนาฮินดู
หนังสือ หลายเล่มเรียกอิสลามว่า ศาสนาโมหัมมัด (Mohamadanism) คงรับมาจากตำราฝรั่ง หรือเรียกคนมุสลิมว่า พวกโมหัมมัด หรือที่บ้านเราเรีกว่า พวกแขก นี่เป็นความเข้าใจผิด ความสับสนพวกนี้มีอีกหลายเรื่องหลายประเด็น เป็นเหตุให้ลดทอนความหมายที่ถูกต้องอิสลามลงไป และทำให้อิสลามคลาดเคลื่อนไปจากความเข้าใจของบุคคลทั่วไป
ใน อิสลามนั้นถือว่าใครที่ยอมรับอัลลอฮฺเป็นผู้สร้าง เป็นผู้เป็นเจ้า สรรพสิ่ง เขาก็สามารถที่จะเป็น "มุสลิม" คนหนึ่งได้ ไม่ว่าคนนั้นจะมีเชื้อชาติใด เผ่าพันธุ์ใหนก็ตาม
ส่วน "อิสลาม" ชื่อที่ใช้เรียกศรัทธานี้ที่ถูกประทานมาจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงสร้าง ดังมีปรากฏอยู่ในอัล-กุรอาน คัมภีร์ที่พระองค์ประทานมาว่า "วันนี้ ฉันได้ทำให้ศาสนาของสูเจ้าครบครันสำหรับสูเจ้าแล้ว และได้ให้ความโปรดปรานของฉันครบถ้วนแก่สูเจ้า และฉันได้พึงใจ (เลือก) อิสลาม เป็นศาสนาสำหรับสูเจ้า" (อัล-มาอิดะฮฺ 5:3)

แนวคิดพื้นฐาน
แนว ความคิดอิสลามขั้นพื้นฐาน ซึ่งหากถูกละเลยไป ก็จะไม่มีวันเข้าใจอิสลามได้เลย นั่นคือ อิสลามถือว่า สรรพสิ่งทั้งหลายถูกสร้างโดยผู้เป็นเจ้า ซึ่งอิสลามเรียกผู้เป็นเจ้าที่เที่ยงแท้นี้ในภาษาอาหรับว่า อัลลอฮฺ เป็นผู้อภิบาล และผู้ทรงอำนาจสูงสุด และทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินและเป็นไปตามกฎของพระองค์
เบื้อง หลังของสรรพสิ่ง จึงมีเจตจำนงหนึ่งบริหารจัดการมัน มีอานาจหนึ่งที่ขับเคลื่อนมัน มีกฎหนึ่งที่คอยกำหนดควบคุมมัน จักรวาลทั้งหมด จึงเป็นสิ่งที่เชื่อฟังต่อเจตจำนงของพระเจ้า ด้วยเหตุจากการเชื่อฟังและการยอมจำนนนี้ ทำให้จักรวาลดำเนินต่อเนื่องไปได้ในรูปแบบที่ประสานกลมกลืนอย่างสันติ
เพราะ ฉะนั้นแนวคิดรากฐานของอิสลามจึงเริ่มจากเอกภาพของผู้เป็นเจ้า นั่นหมายความหมายความว่า สรรพสิ่งและชีวิตต่างๆนั้นมาจากแหล่งกำเนิดเดียว และต่างตกอยู่ภายใต้การบริหารของอำนาจเดียว ดำรงอยู่ท่ามกลางเป็นเอกภาพ ประสานกลมกลืนเข้าด้วยกันอย่างปราณีตงดงามยิ่ง
นี่ คือแนวคิดหลัก ซึ่งเป็นแนวคิดที่ก่อขึ้นเป็นความเชื่อ อุดมการณ์ และระบอบอิสลามอื่นๆ ที่ถูกกล่าวไว้ในอัล-กุรอานตลอดทั้งเล่มก็ว่าได้ ดังตัวอย่างปรากฎในอัล-กุรอานว่า "และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาเหล่า นั้นไม่ เห็นดอกหรือว่า แท้จริงชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนั้นแต่ก่อนนี้รวมติดเป็นอันเดียวกัน แล้วเราได้แยกมันทั้งสองออกจากกัน และเราได้ทำให้ทุกสิ่งมีชีวิตมาจากน้ำ ดังนั้นพวกเขาจะยังไม่ศรัทธาอีกหรือ" (อัลอัมบิยาอฺ 21.30)
" หากในชั้นฟ้าและแผ่นดินมีพระเจ้าหลายองค์ นอกจากอัลลอฮ์แล้ว ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างแน่นอน อัลลอฮ์พระเจ้าแห่งบัลลังก์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่พวกเขาเสกสรรปั้นแต่ง ขึ้น" (อัลญุมุอะฮฺ 21:22)
"พระ ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งเจ็ดเป็นชั้น ๆ เจ้าจะไม่เห็นแต่อย่างใดในความไม่ได้สัดส่วนในการสร้างของพระผู้ทรงกรุณา ปรานี ดังนั้นเจ้าจงหันกลับมามองดูซิ เจ้าเห็นรอยร้าวหรือช่องโหว่บ้างไหม?" (อัลมุลกฺ 67.3)
ฉะนั้น สรรพสิ่งและชีวิตในอิสลามจึงถูกเน้นถึง "ความกลมกลืน" กันบน "อำนาจเดียว" ทุกสิ่งเดินไปบน "การยอมจำนน" อย่างสิ้นเชิงต่ออำนาจนั้น
" ชั้นฟ้าทั้งเจ็ดและแผ่นดินและที่อยู่ในนั้นสดุดีสรรเสริญแด่พระองค์ และไม่มีสิ่งใดเว้นแต่จะสดุดีด้วยการสรรเสริญพระองค์แต่ว่าพวกเจ้าไม่เข้าใจ คำสดุดีของพวกเขาแท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงหนักแน่น ผู้ทรงอภัยเสมอ" (อัลอิสรออ์ 17.44)
" อื่นจากศาสนาของอัลลอฮ์กระนั้นหรือที่พวกเขาแสวงหา? และแด่พระองค์นั้น ผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดินได้นอบน้อมกัน ทั้งด้วยการสมัครใจ และฝืนใจ และยังพระองค์นั้นพวกเขาจะถูกนำกลับไป" (อัรเราะอฺ13.15)

ความหมายอิสลาม
ภาย หลังจากเราได้ทำความเข้าใจแนวคิดหลักของอิสลามแล้ว เราสามารถทำความเข้าใจความหมายของอิสลามได้ทันที เพราะความหมายของคำว่า "อิสลาม" นั่น ผูกติดอยู่กับแนวคิดข้างต้นนั่นเอง
เริ่มจากความหมายทางภาษากันก่อน คำว่า "อิสลาม" มาจากรากศัพท์สามอักษร คือ ซีน ลาม มีม หมายถึง
ก) ยอมจำนน ยอมรับ ยอมสยบ ให้แก่สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เหนือกว่า ดังนั้นประโยคที่ว่า อัสละละ อัมเราะฮุ อิลา อัลลอฮฺ จึงหมายถึง เขามอบหมายการงานของเขาไปยังอัลลอฮฺ หรือเขายอมรับเจตนารมณ์ของอัลลอฮฺโดยดุษฎี คำว่า อัสสะมะ ตัวเดียวกันนี้ยังหมายถึง เขามอบหมายตัวเขาไปสู่เจตนารมณ์ของอัลลอฮฺ หรือเขาเป็นมุสลิม ก็ได้
ข) ปรองดองกับสิ่งอื่น หรือสร้างสันติภาพ (โปรดดู Hans Wehr, Dictionary of Modern Arabic Written Wiesbadane : Harrassowitz ,1971p. 424-425.)
ถ้า เข้าใจความหมายทางภาษา ก็สามารถเข้าใจความหมายทางหลักการได้ไม่ยาก ความหมายอิสลามทางหลักการนั้นได้รับจากความเข้าใจที่มาจากอัล-กุรอาน อัซ-ซุนนะฮฺ และความเข้าใจอย่างเอกฉันท์ของศิษย์ของท่านนบีฯหรือบรรดาเศาะฮาบะฮฺนั่นเอง นั่นคืออิสลาม หมายถึงการยอมจำนน การอ่อนน้อม และการเชื่อฟัง ดังนั้น อิสลามคือระบอบที่ยืนหยัดอยู่บนหลักการยอมจำนน และเชื่อฟังต่ออัลลอฮฺ นี้คือสาเหตุที่มันถูกเรียกว่าระบอบหรือแนวทางแห่งอิสลาม
และ ในอีกด้านหนึ่ง คำว่าอิสลาม คือ "สันติภาพ" หมายถึงผู้ใดต้องการที่จะรับเอาสันติภาพที่แท้จริงทั้งทางภายนอก และทางความรู้สึกได้ ก็มีเพียงแต่โดยวิธีการยอมจำนน และเชื่อฟังต่ออัลลอฮฺเท่านั้น ตามที่กล่าวนี้ก็คือ ชีวิตที่เชื่อฟังอัลลอฮฺจะนำมาซึ่งสันติภาพของจิตใจ และจะขยายสันติภาพไปสู่ด้านอื่นๆของชีวิตต่อไป
เพราะ ฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ดำเนินไปตามเจตนารมณ์ของผู้เป็นเจ้าจึงเรียกได้ว่าได้ เข้าสู่ความเป็นอิสลาม หรือเรียกเป็นภาษาอาหรับว่า "มุสลิม" หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ยอมจำนนต่ออัลลอฮฺและเป็นผลให้ผู้หรือสิ่งนั้นดำเนินไปบนแนว ทางที่สันติ
กล่าวตามความหมายนี้ก็คือ ทุกสรรพสิ่งเป็นมุสลิม เพราะฉะนั้นการที่มนุษย์คนใดเลือกเป็นมุสลิม ก็คือมนุษย์คนนั้นได้เลือกวิถีทางเดียวกับทุกสรรพสิ่งที่ดำเนินและเคลื่อน ไหวไปรอบๆตัวเขานั้นเอง อัล-กุรอานจึงได้เรียกร้องต่อผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺให้เข้าสู่สันติภาพนี้ พาตัวเองเข้าสู่สันติภาพทั้งระบอบ
"โอ้บรรดาผู้ศรัทธาจงเข้าสู่สันติภาพทั้งหมด" คำว่าซิลมฺ ที่แปลว่า "สันติภาพ" ในที่นี้หมายถึง อิสลาม หรือการยอมจำนนต่ออัลลอฮฺในทุกแง่ทุกมุมของชีวิต เราจึงสามารถอธิบายได้เช่นกันว่า อิสลาม คือระบอบและแนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกประทานจากผู้เป็นเจ้าสู่มุฮัมมัด ผู้เป็นศาสดาท่านสุดท้าย
อิส ลาม คือประมวลในสิ่งที่อัลลอฮฺประทานมาให้ทุกแง่ทุกมุมของชีวิต ไม่ว่าเป็นหลักศรัทธา กฎหมาย การเมือง แนวทางเศรษฐกิจ

การพยากรณ์ในพระคัมภีร์ไบเบิลเรื่องการมาจุติของพระมูหะหมัด ศาสดาของศาสนาอิสลาม

การพยากรณ์ในพระคัมภีร์ไบเบิลเรื่องการมาจุติของพระมูหะหมัด ศาสดาของศาสนาอิสลาม

การพยากรณ์ในพระคัมภีร์ไบเบิลเรื่องการมาจุติของพระศาสดามูหะหมัด นั้นสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานแสดงให้บุคคลที่มีความศรัทธาในพระคัมภีร์ไบเบิลเห็นถึงความสัตย์จริงของศาสนาอิสลาม.

ใน พระราชบัญญัติ 18,ท่านโมเสสได้กล่าวไว้ว่า พระเจ้าทรงตรัสกับเขาว่า เรา จะโปรดให้บังเกิดผู้พยากรณ์อย่างเจ้าในหมู่พวกพี่น้องของเขา และเราจะใส่ถ้อยคำของเราในปากของเขา และเขาจะกล่าวบรรดาสิ่งที่เราบัญชาเขาไว้นั้นแก่ประชาชนทั้งหลาย ต่อมาผู้ใดไม่เชื่อฟังถ้อยคำของเรา ซึ่งผู้พยากรณ์กล่าวในนามของเรา เราจะกำหนดโทษผู้นั้น(พระราชบัญญัติ 18:18-19) .1

จากโคลงบทต่างๆ เหล่านี้ เราสามารถสรุปได้ว่า พระศาสดาในการพยากรณ์นี้จะต้องมีบุคลิกลักษณะสามประการดังนี้:

1) เขาจะต้องเป็นอย่างท่านโมเสส.

2) เขาจะต้องมาจากบรรดาพี่น้องของชาวยิว เช่น ลูกหลานของอิสมาเอล.

3) พระ ผู้เป็นเจ้านั้นจะทรงใส่พระ ดำรัสของพระองค์ลงในพระโอษฐ์ของพระศาสดาองค์ดังกล่าวนี้และพระองค์จะทรง ประกาศถึงสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงบัญชาพระองค์มา.

ขอให้เราลองตรวจสอบบุคลิกลักษณะทั้งสามประการนี้ให้ลึกลงไปอีก:

1) พระศาสดาอย่างเช่นท่านโมเสส:

เป็นการยากที่จะมีพระศาสดาองค์ใดถึงสองพระองค์ที่จะมีบุคคลิกลักษณะเหมือนกันเป็นอย่างยิ่งเช่นท่านโมเสสกับพระมูหะหมัด . ทั้ง สองต่างได้รับกฎระเบียบและข้อบัญญัติของชีวิตที่ชัดเจน ทั้งสองต่างต้องเผชิญกับเหล่าปัจจามิตรและต่างได้รับชัยชนะด้วยวิธี ปาฏิหาริย์ต่างๆ นอกจากนี้ทั้งสองพระองค์ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นพระศาสดาและรัฐบุรุษอีก ด้วย ทั้งสองยังต้องหลบหนีการวางแผนรอบปลงพระชนม์ จากการวิเคราะห์ระหว่างท่านโมเสสกับพระเยซูไม่เพียงแต่มีความคล้ายคลึงกัน อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น แต่ยังมีความสำคัญโดดเด่นเป็นอย่างยิ่งอีกด้วย รวมทั้งการกำเนิดอย่างเป็นธรรมชาติ ชีวิตครอบครัวและการสิ้นชีพของทั้งท่านโมเสสและพระศาสดามูหะหมัด แต่ ไม่ใช่พระเยซู นอกจากนี้ สาวกของพระเยซูยังถือว่าพระองค์เป็นบุตรแห่งพระเจ้า และไม่ได้เป็นพระศาสดาแห่งพระเจ้า เนื่องจากโมเสสและพระมูฮัมหมัด เป็นพระศาสดาแล้ว และเพราะชาวมุสลิมเชื่อว่าพระเยซูเป็นเช่นนั้น ดังนั้น การพยากรณ์จึงหมายถึงพระศาสดามูหะหมัด ไม่ใช่พระเยซู เพราะว่าพระมูหะหมัด นั้นมีความคล้ายคลึงกับท่านโมเสสยิ่งกว่าพระเยซูนั่นเอง.

อีกเช่นเดียวกัน มีคนสังเกตถึงคำสอนของพระเยซูที่ถ่ายทอดโดยพระสาวกยอห์นที่ว่า ชาวยิวทั้งหลายกำลังรอคอยการบรรลุผลของการพยากรณ์ที่สมบูรณ์ชัดเจนทั้งสาม ประการอยู่ ประการแรกก็คือ การมาของพระเยซูคริสต์ ประการที่สอง การมาของอีเลยาห์ และประการที่สาม การมาของพระศาสดา ซึ่งเห็นได้ชัดจากคำถามทั้งสามข้อที่ถามกับท่านสาวกยอห์น ซึ่งเป็นพระในนิกายโปรแตสแตนท์: นี่แหละเป็นคำพยานของ ยอห์น เมื่อพวกยิวส่งพวกปุโรหิตและพวกเลวีจากกรุงเยรูซาเล็มไปถามท่านว่า "ท่านคือผู้ใดท่านได้ยอมรับ และมิได้ปฏิเสธ แต่ได้ยอมรับว่า "ข้าพเจ้าไม่ใช่พระคริสต์" เขาทั้งหลายจึงถามท่านว่า "ถ้าเช่นนั้นท่านเป็นใครเล่า ท่านเป็นเอลียาห์หรือ" ท่านตอบว่า "ข้าพเจ้าไม่ใช่เอลียาห์" "ท่านเป็นศาสดาพยากรณ์ผู้นั้นหรือ" และท่านตอบว่า "มิได้" (ยอห์น 1:19-21). ถ้าเราดูพระคัมภีร์ที่มีการอ้างอิงแบบไขว้ เราจะพบหมายเหตุที่ขอบหน้ากระดาษที่มีคำว่า พระศาสดา ปรากฏอยู่ใน ยอห์น 1:21 ซึ่งคำเหล่านี้นั้นอ้างถึงการพยากรณ์ของพระราชบัญญัติ 18:15 และ 18:18.2 เราจึงพอสรุปได้จากสิ่งดังกล่าวนี้ว่า พระเยซูคริสต์นั้นไม่ใช่พระศาสดาองค์ที่กล่าวไว้ใน พระราชบัญญัติ 18:18 .

2) จากพี่น้องชาวอิสราเอล:

อับราฮัม (Abraham) ทรงมีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ อิสมาเอลและไอแซ็ค (Ishmael and Isaac) (ปฐมกาล 21) ต่อมาอิสมาเอลกลายเป็นบรรพบุรุษของชนชาติอาหรับ และไอแซ็คกลายเป็นบรรพบุรุษของชนชาติยิว พระศาสดาที่กล่าวถึงนี้ไม่ได้มาจากชนชาติยิวเอง แต่มาจากบรรดาพี่น้องของพวกเขา เช่น บรรดาพี่น้องของตระกูลอิสมาเอล พระมูหะหมัด , คือหนึ่งในเครือญาติของอิสมาเอล จึงเป็นพระศาสดาที่แท้จริงที่สุด.

อีกทั้งในคัมภีร์ อิสยาห์ 42:1-13 ยังได้กล่าวถึงผู้รับใช้พระผู้เป็นเจ้า ว่า “ผู้ที่ได้รับเลือก” และ “ผู้ถือสาร” ของพระองค์จะเป็นผู้ซึ่งนำกฎระเบียบต่างๆ ลงมา ท่านจะไม่ล้มเหลวหรือท้อแท้จนกว่าท่านจะสถาปนาความยุติธรรมไว้ในโลก และเกาะทั้งหลายจะรอคอยพระราชบัญญัติของท่าน (อิสยาห์ 42:4) โคลงบทที่ 11 ซึ่งเชื่อมโยงบุรุษผู้เป็นที่รอคอยเข้ากับทายาทของคีดาร์ คีดาร์คือใคร ตามที่ ปฐมกาล 25:13 ได้กล่าวไว้ว่า คีดาร์คือพระราชโอรสคนที่สองของอิสมาเอล ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของพระศาสดามูหะหมัด . นั่นเอง .

3) พระผู้เป็นเจ้าจะใส่พระดำรัสของพระองค์ลงในพระโอษฐ์ของพระศาสดาองค์นี้:

พระดำรัสต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้า (ในพระคัมภีร์กุรอาน) ได้ถูกใส่ลงในพระโอษฐ์ของพระมูหะหมัด อย่างแท้จริง พระผู้เป็นเจ้าได้ประทานเทพเจ้ากาเบรียลให้ลงไปสอนพระมูหะหมัด ถึง พระดำรัสที่ถูกต้องของพระผู้เป็นเจ้า (พระคัมภีร์กุรอาน) และขอร้องพระองค์ให้นำพระดำรัสเหล่านั้นไปสอนสั่งผู้คนอย่างที่พระองค์ทรง สดับมา ดังนั้น พระดำรัสดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นของพระองค์เอง พระดำรัสหล่านั้นไม่ได้มาจากความคิดของพระองค์เอง แต่ได้ถูกใส่ลงในพระโอษฐ์ของพระองค์โดยเทพเจ้ากาเบรียล ในช่วงชีวิตของพระมูหะหมัด ,และภายใต้การดูแลของพระองค์นั้น พระดำรัสเหล่านี้จึงได้ถูกท่องจำและจารึกไว้โดยบรรดาพระสหายของพระองค์.

อีกทั้ง คำพยากรณ์ที่บันทึกไว้ใน พระราชบัญญัติ ได้กล่าวไว้ว่า พระศาสดาองค์นี้จะทรงตรัสพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าในนามของพระผู้เป็นเจ้า ถ้าเรากลับไปดูพระคัมภีร์กุรอาน เราจะพบว่าทุกบทของพระคัมภีร์ ยกเว้นในบทที่ 9 จะนำเรื่องหรือขึ้นต้นด้วยวลี “ในนามของพระผู้เป็นเจ้า พระผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ.”

เครื่องบ่งชี้อีกอย่างหนึ่ง (นอกจากคำพยากรณ์ที่บันทึกไว้ พันธสัญญาเล่มที่ห้า ได้แก่พระคัมภีร์ อิสยาห์ ที่เกี่ยวพันกับผู้ถือสารโดยเชื่อมโยงกับคีดาร์ด้วยบทสวดบทใหม่ (พระคัมภีร์ซึ่งจารึกด้วยภาษใหม่) ซึ่งสวดโดยพระผู้เป็นเจ้า (อิสยาห์ 42:10-11) ในที่นี้ได้กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งในคำพยากรณ์ที่บันทึกไว้ใน อิสยาห์: แต่พระองค์จะตรัสกับชนชาตินี้โดยต่างภาษา” (อิสยาห์ 28:11 KJV) อีกส่วนหนึ่งที่เกี่ยวพันกัน ได้แก่ พระคัมภีร์กุรอานได้รับการเปิดเผยไปยังกลุ่มบุคคลต่างๆ ในช่วงกว่ายี่สิบสามปี เป็นเรื่องที่น่าสนใจเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ อิสยาห์ 28 ซึ่งได้กล่าวถึงในสิ่งเดียวกัน เพราะเป็นข้อบังคับซ้อนข้อบังคับ ข้อบังคับซ้อนข้อบังคับ บรรทัดซ้อนบรรทัด บรรทัดซ้อนบรรทัด ที่นี่นิด ที่นั่นหน่อย (อิสยาห์ 28:10).

โปรดสังเกตว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสเป็นคำพยากรณ์ไว้ พระราชบัญญัติ บทที่18 ว่า “ต่อมาผู้ใดไม่เชื่อฟังถ้อยคำของเรา ซึ่งผู้พยากรณ์กล่าวในนามของเรา เราจะกำหนดโทษผู้นั้น (พระราชบัญญัติ 18:19) สิ่งที่กล่าวมานี้หมายความว่า ผู้ใดก็ตามที่ศรัทธาในพระคัมภีร์จะต้องมีความศรัทธาในสิ่งพระศาสดาองค์ทรง สั่งสอน และพระศาสดาที่ว่านี้ได้แก่ พระศาสดามูหะหมัด . นั่นเอง


พระคัมภีร์กุรอานว่าด้วยสมองส่วนหน้าของมนุษย์






พระคัมภีร์กุรอานว่าด้วยสมองส่วนหน้าของมนุษย์:

พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสไว้ในพระคัมภีร์กุรอานถึงคนผู้หนึ่งในกลุ่มของผู้ไร้ความศรัทธาในศาสนาโดยสิ้นเชิง เข้ามาขัดขวางพระมูหะหมัดไม่ให้ทำละหมาดในวิหารกาบา (Kaaba):

มิใช่เช่นนั้น ถ้าเขายังไม่หยุดยั้ง เราจะจิกเขาที่ขม่อมอย่างแน่นอน ขม่อมที่โกหกที่ประพฤติชั่ว! (พระคัมภีร์กุลอาน, 96:15-16)

ทำไมพระคัมภีร์กุรอานจึง ได้อธิบายบริเวณศรี ษะส่วนหน้าว่าเปรียบเสมือนส่วนที่เต็มไปด้วยบาปและความตลบตะแลง ทำไมพระคัมภีร์กุรอานจึงไม่กล่าวว่าบุคคลนั้นเต็มไปด้วยบาปและความตลบตะแลง มีความสัมพันธ์กันอย่างไรระหว่างบริเวณศรีษะส่วนหน้ากับบาปกรรมและความตลบ ตะแลง?

ถ้าเรามองเข้าไปในกระโหลกศีรษะส่วนหน้า เราจะพบบริเวณสมองส่วนหน้า (ดูรูปที่ 12) วิชาว่าด้วยสรีระวิทยาบอกกับเราว่าบริเวณนี้มีหน้าที่อะไรบ้าง ในหนังสือที่ชื่อว่า Essentials of Anatomy & Physiology ได้กล่าวถึงบริเวณนี้ไว้ว่าแรงบันดาลใจและการคาดการณ์ล่วงหน้าในการวางแผนและการสั่งให้ร่างกายเคลื่อน ไหวนั้น เกิดจากกลีบสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ด้านหน้าสุด และเป็นบริเวณศูนย์รวมของเยื่อหุ้มสมอง...1ใน ตำราเล่มนั้นยังกล่าวอีกว่าเนื่องจากว่าบริเวณที่อยู่ด้านหน้าสุดนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างแรง บันดาลใจ จึงมีการคิดกันว่าบริเวณส่วนนี้เป็นศูนย์กลางที่ก่อให้เกิดความรุนแรง....2


ดังนั้นบริเวณของ สมองส่วนหน้านี้จึงมี หน้าที่วางแผน สร้างแรงจูงใจ และริเริ่มให้เกิดการกระทำดีหรือชั่ว อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการโป้ปดมดเท็จและบอกเล่าความจริง ดังนั้น จึงจะเหมาะสมกว่าหากอธิบายว่าบริเวณศรีษะส่วนหน้านั้นเปรียบเสมือนส่วนที่ เต็มไปด้วยบาปและความตลบตะแลง เมื่อมีผู้ใดโกหกหรือกระทำสิ่งที่เป็นบาป อย่างที่พระคัมภีร์กุรอานได้กล่าวไว้ว่า “naseyah (บริเวณส่วนหน้าของศีรษะ) ที่เต็มไปด้วยความตลบตะแลงและบาปกรรม!

นักวิทยาศาสตร์เพิ่งจะค้นพบการทำหน้าที่ต่างๆ ของบริเวณสมองส่วนหน้าเมื่อหกสิบปีที่ผ่านมานี่เอง โดยศาสตราจารย์ Keith L. Moore.3

เชิงอรรถ:

(1)Essentials of Anatomy & Physiology ของ Seeley และคณะ หน้า 211 และดูที่ The Human Nervous System ของ Noback และคณะ หน้า 410-411. Back from footnote (1)

(2)Essentials of Anatomy & Physiology ของ Seeley และคณะ หน้า 211. Back from footnote (2)

(3)Al-Ejaz al-Elmy fee al-Naseyah (ปาฏิหาริย์ในทางวิทยาศาสตร์บริเวณศรีษะส่วนหน้า) ของ Moore และคณะ หน้า 41. Back from footnote (3)



ทัศนะอิสลามต่องานศิลป์และดนตรี.




อิสลามเป็นศาสนาที่ชื่นชมความสวยงามและเรียกร้องให้ทุกๆ อย่างไปสู่ความสวยงาม ดังที่ศาสดามุฮัมมัด ได้ทรงตรัสไว้ว่า "แท้จริงพระองค์นั้นทรงสง่างามยิ่ง และพระองค์อัลลอหทรงโปรดปรานความสวยงาม "ศิลปะคือการสร้างสรรค์ในสิ่งสวยงามซึ่งไม่ขัดต่ออิสลาม

อย่างไรก็ดี อิสลามเป็นศาสนาที่ให้ความ สำคัญด้านศีลธรรมมากกว่าด้านความสวยงาม ประเด็นนี้มิได้หมายความว่าอิสลามต่อต้านงานศิลป์ แต่อิสลามเห็นว่าความสวยงามนั้นย่อมขึ้นอยู่กับศีลธรรม นี่คือทัศนะหลักของอิสลามที่มีต่อศิลปะในทุกๆ แขนง จึงมีมาตรฐานในอิสลามเกี่ยวกับงานศิลป์ทุกแขนงกล่าวคือ "สิ่งที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่ดี และสิ่งที่ชั่วร้ายเป็นสิ่งที่ผิด"

ในคัมภีร์อัลกุรอานมีหลายโองการที่กล่าวถึงความสวยงามในสากลจักรวาลและความสมบูรณ์ของการสร้าง ซึ่งมีปรากฏอยู่ในซูเราะหฺ อัลฮิจญเราะฮ์ โองการที่ 16 ความว่า "และโดยแน่แท้ เราให้มีหมู่ดวงดาวในท้องฟ้า และเราได้ประดับมันให้สวยงามแก่บรรดาผู้เฝ้ามอง"และในซูเราะหฺ อัลนะหฺล โองการที่ 6 ความว่า "และในตัวมันมีความสง่างามสำหรับพวกเจ้าขณะที่นำมันกลับจากทุ่งหญ้าและขณะที่นำมันออกไปเลี้ยง"และในซูเราะหฺฟุศศิลัต โองการที่ 12 ความว่า "ดังนั้นพระองค์ทรงสร้างมันสำเร็จเป็นชั้นฟ้าทั้งเจ็ดในระยะเวลา 2 วัน และทรงกำหนดในทุกๆ ชั้นฟ้าหน้าที่ของมัน และได้ประดับท้องฟ้าแห่งโลกนี้ด้วยดวงดาวทั้งหลาย และเป็นการป้องกันนั้นคือการกำหนดแห่งพระผู้ทรงอำนาจและผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง"ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าอิสลามปฏิเสธงานศิลป์ซึ่งแสดงออกถึงความสวยงามแม้แต่น้อย แต่ทว่าถ้าสิ่งเหล่านั้นขัดต่อศีลธรรมอิสลามก็จะปฏิเสธและไม่ยอมรับเช่นกัน

เมื่อเรียบเรียงจากสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า หากเป้าหมายของงานศิลป์คือการส่งเสริมสติปัญญา และความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน อิสลามก็ไม่ขัดข้อง อย่างไรก็ดีหากศิลปะและงานศิลป์เหล่านั้นอยู่นอกขอบเขตหรือเป้าหมายดังกล่าว กลับไม่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ใดๆ ไปในทางที่ดี และในทางตรงกันข้าม กลับทำลายและขัดต่อศีลธรรม อิสลามก็ยอมรับไม่ได้อย่างแน่นอน

หากดนตรีและบทเพลงที่มีเนื้อร้องที่ดีละเอียดอ่อน มีทำนองเพราะพริ้งมีจังหวะที่นุ่มนวล มีเสียงร้องที่ไพเราะ อิสลามก็ไม่ปฏิเสธตราบใดที่อยู่ในขอบเขตของศีลธรรม เว้นแต่จะเป็นบทเพลงที่ส่งเสริมให้ผู้คนกระทำการใดๆ อันขัดต่อศีลธรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ผู้ใดก็ตามที่แสวงหาศิลปะ เพื่อประเทืองความรู้สึกด้านจิตใจ อิสลามเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าชมเชยยิ่ง พระศาสดาไม่ได้ห้ามการร้องเพลง การเล่นดนตรีตราบใดที่ไม่ขัดต่อศีลธรรม ท่านศาสดาทรงชมเชยเสียงของ อบีมูซา อัลอัชอารี่ ซึ่งมีเสียงที่ไพเราะมาก และพระองค์ทรงเลือกจากบรรดาสาวกผู้ที่มีเสียงไพเราะให้ทำหน้าที่เป็นผู้อะซานในการเชิญชวนให้มาละหมาดเมื่อได้เวลา ครั้งหนึ่งในวันอีด ท่านอบูบักร ได้เข้าไปหาพระนางอะอีชะหฺ บุตรสาวและเป็นภรรยาของศาสดา ในขณะนั้นมีหญิงรับใช้สองคนกำลังร้องเพลงและตีกลอง ท่านอบูบักรได้ห้ามการกระทำดังกล่าว แต่ท่านพระศาสดาได้คัดค้านการกระทำของอบูบักร โดยกล่าวว่า "จงปล่อยให้นางทั้งสองร้องเพลงไปเถิดเพราะวันอีด (วันแห่งการรื่นเริง) "

นอกจากนี้ยังมีรายงานอื่นอีกมากที่ท่านศาสดาไม่ห้ามการร้องเพลงซึ่งระบุได้ว่า การร้องรำทำเพลงตราบใดที่ไม่ขัดต่อศีลธรรมนั้นเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้

ส่วนการเต้นรำ ศาสนาอิสลามได้แยกการเต้นรำระหว่างผู้หญิงออกจากผู้ชาย แต่ทว่าอิสลามก็ไม่ขัดข้องหากการเป็นการเต้นระบำพื้นเมือง พระศาสดาทรงอนุญาตให้พระนางอะอีชะหฺดูการเต้นรำของชาวฮาบาชี่ (ชาวเอธิโอเปีย) เนื่องในงานวันอีด การที่ผู้หญิงเต้นรำต่อหน้าผู้หญิงนั้นเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ แต่ห้ามเต้นต่อหน้าผู้ชาย ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเย้ายวนอันจะนำไปสู่พฤติกรรมที่ขัดต่อศีลธรรม



อิสลามส่งเสริมความคิดรุนแรงหรือไม่








อิสลามเป็นศาสนาที่สอนให้มีความกรุณาปราณี และส่งเสริมให้มีความยุติธรรม และสันติภาพ นอกจากนั้นอิสลามยังพิทักษ์รักษาเสรีภาพ เกียรติยศและความมีศักดิ์ศรี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่เป็นเพียงคำขวัญแต่เป็นหลักการที่อิสลามยึดเหนี่ยวอยู่ด้วย

พระผู้เป็นเจ้าทรงได้ส่งศาสดามุฮัมมัด ดังปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอานซูเราะฮฺอัลอันบิยาอฺ โองการที่107 ความว่า "และเราไม่ได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใด นอกจากเพื่อเป็นความเมตตาแก่ประชาชาติทั้งหลาย" และพระศาสดา ทรงตรัสเช่นเดียวกันว่า "ตัวฉันเองได้ถูกส่งมาเพื่อทำให้จรรยาบันที่สูงส่งนั้นสมบูรณ์ยิ่ง"

และอิสลามยังอนุญาตให้มนุษย์สามารถเลือกเชื่อได้ รวมทั้งเรื่องของความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าหรือปฏิเสธการเชื่อก็ตาม ดังมีหลักฐานปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอานซูเราะฮฺอัลมักกะฮฺฟี โองการที่ 29 ความว่า "และจงกล่าวเถิดมุฮัมมัด สัจธรรมนั้นมาจากพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้น ผู้ใดประสงค์ก็จงศรัทธาและผู้ใดประสงค์ก็จงปฏิเสธ แท้จริง เราได้เตรียมไฟนรกไว้สำหรับพวกอธรรม ซึ่งกำแพงของมันล้อมรอบพวกเขา และถ้าพวกเขาร้องขอความช่วยเหลือก็จะถูกช่วยเหลือด้วยน้ำเสมือนน้ำทองแดงเดือดลวกใบหน้า มันเป็นน้ำดื่มที่ชั่วช้าและเป็นที่พำนักที่เลวร้าย"

การชักจูงให้นับถือศาสนาอิสลามนั้นเป็นเรื่องของการชักจูงจิตใจคน โดยการเรียกร้องอย่างนิ่มนวลและด้วยการสนทนาอย่างฉันท์มิตร ไม่ใช่วิธีการบังคับขู่เข็นใดๆ ในหลักการศรัทธาของอิสลามได้เรียกร้องให้บรรดาชาวมุสลิมรักษาความยุติธรรม และเสรีภาพ โดยห้ามสิ่งอยุติธรรมใดๆ ตลอดจนการทารุณ การฉ้อราษฎร์บังหลวง การกระทำการใดๆ ที่ชั่วร้ายอันเป็นการส่งเสริมความชั่วให้อยู่ในระดับเดียวกับความดีดังปรากฏในอัลกุรอาน ซูเราะฮฺฟุซซิลัต โองการที่ 34 ความว่า " ความดีและความชั่วนั้นหาเท่าเทียมกันไม่ เจ้าจงขับไล่ (ความชั่ว) ด้วยสิ่งที่มันดีกว่าแล้วเมื่อนั้นผู้ที่อยู่ระหว่างเจ้ากับระหว่างเขาเคย เป็นอริกันก็จะกลับกลายเป็นเยี่ยงมิตรที่สนิทกัน"

เมื่อครั้งที่พระศาสดามุฮัมมัด ได้รับชัยชนะเหนือประชาชนที่นครเมกมักกะฮฺนั้น พระองค์ทรงให้อภัยแก่บุคคลเหล่านั้น แม้ว่าพวกเขาเคยติดตามประหัตประหาร พระองค์ก็ตาม โดยได้ทรงกล่าวว่า "ท่านทั้งหลายจงมีสิทธิเสรีภาพอย่างสมบูรณ์"

มีการเปรียบเทียบกันระหว่างความศรัทธาในศาสนาอิสลามและสันติภาพ ในภาษาอาหรับทั้งสองคำคือ อิสลาม และสลาม แปลว่า สันติภาพและมาจากแหล่งกำเนิดเดียวกัน พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงกล่าวถึงพระองค์เองในคัมภีร์อัลกุรอานว่า สันติภาพเมื่อบรรดามุสลิมทักทายกันก็จะทักทายกันด้วยการให้สลาม (อัสลามุอะลัยกุม แปลว่าขอความสันติจงประสบแด่ท่าน) เสมือนเป็นการเตือนอยู่เสมอว่า ความสันตินั้นเป็นหลักการหนึ่งที่สำคัญของอิสลามที่จะต้องเก็บรักษาไว้ในจิตใจของมุสลิมทุกคน มุสลิมทุกคนเมื่อละหมาดวันละ 5 เวลา ก็จะจบการละหมาดลงด้วยการให้สลามโดยการหันหน้าไปทางขวา และหันหน้าไปทางซ้ายพร้อมกับกล่าวสลาม (ความสันติ)

จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาข้างต้นเห็นได้ว่า อิสลามเป็นศาสนาที่รักความสันติ โดยไม่เปิดช่องให้ใช้ความรุนแรง ความบ้าระห่ำ การก่อการร้าย หรือการโจมตีบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ก็ตาม คำสั่งสอนและหลักการของอิสลามมุ่งที่จะพิทักษ์รักษาสิทธิมนุษยชนซึ่งหมายรวมถึงสิทธิในชีวิต ครอบครัว ความเชื่อ ความคิด และทรัพย์สิน หลักการศรัทธาในอิสลามห้ามไม่ให้มีการทำร้ายผู้อื่น ซึ่งการทำร้ายผู้อื่นนั้นเปรียบเสมือนการทำร้ายมนุษยชาติ ซึ่งมีหลักฐานปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน ซูเราะฮฺมาอีดะฮฺ โองการที่ 34 ความว่า แท้จริงผู้ใดฆ่าชีวิตหนึ่งโดยมิใช่ทดแทนอีกชีวิตหนึ่ง หรือมิใช่เนื่องจากบ่อนทำลายในแผ่นดินแล้ว ก็ประหนึ่งว่าเขาได้ฆ่ามนุษย์ทั้งมวล"

ดังนั้นปัจเจกชนจึงเป็นเรื่องของมนุษยธรรมและความห่วงใยของศาสนาอิสลามในเรื่องการพิทักษ์รักษามนุษยธรรม จึงปรากฏอยู่ในการที่มนุษย์คนหนึ่งให้ความเคารพต่อมนุษย์อีกคนหนึ่งโดยการเคารพถึงเสรีภาพ ความมีศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษยชนของเขา พระศาสดา ได้ทรงตรัสไว้ตอนหนึ่งว่า "มุสลิมนั้นห้ามที่จะมีการนองเลือด ลักทรัพย์ หรือทำลายเกียรติภูมิของมุสลิมด้วยกัน" นอกจากนั้นพระศาสดายังได้ทรงตรัสอีกว่า "ผู้ใดที่ทำลายล้างผู้ซึ่งนับถือพระผู้เป็นเจ้า จะไม่ได้รับการให้อภัยในเรื่องของการทำร้ายนั้นในวันพิพากษา"

ศาสนาอิสลามได้เรียกร้องให้ทุกๆ ประชาชาติอยู่ร่วมกันด้วยสันติวิธี อีกทั้งให้มุสลิมปฏิบัติต่อผู้ที่ไม่ได้เป็นมุสลิม ด้วยความยุติธรรม ดังมีหลักฐานปรากฏใน ซูเราะฮฺที่ 60 โองการอัลกุรอานที่ 8 ความว่า "พระองค์อัลลอฮฺ มิได้ทรงห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับบรรดาผู้ที่มิได้ต่อต้านพวกเจ้าในเรื่องศาสนา และพวกเขามิได้ขับไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้า ในการที่พวกเจ้าจะทำความดีแก่พวกเขา และให้ความยุติธรรมแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักผู้ที่มีความยุติธรรม"

ความรับผิดชอบที่จะรักษาสมาชิกของประชาคมใดๆ เป็นความรับผิดชอบของทุกคนในประชาคมนั้นๆ การรับผิดชอบร่วมกันจึงเป็นหนทางเดียวที่จะให้เกิดความมั่นคง และเสถียรภาพ เพื่อที่จะไม่ให้มีการโกงกินกัน มีอันตรายมาคุกคาม และเพื่อไม่ให้เกิดความเสื่อมทรามลง ในอีกตอนหนึ่งพระศาสดา ได้ทรงเปรียบเทียบพวกเราทุกคนเสมือนกับบุคคลที่นั่งอยู่เต็มเรือ โดยมีคนจำนวนหนึ่งอยู่บนดาดฟ้าของเรือ ในขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ภายในเรือลำนั้น เมื่อคนที่อยู่ในเรือต้องการน้ำที่จะดื่ม จึงขึ้นไปหาคนที่อยู่บนดาดฟ้าแล้วบอกว่า เขาสามารถที่จะหาน้ำดื่มได้โดยการเจาะรูที่ท้องเรือ ซึ่งในการกระทำเช่นนั้น เขาไม่ต้องการที่จะทำลายบุคคลที่อยู่ข้างบน ดังนั้น หากบุคคลที่อยู่บนดาดฟ้าอนุญาตให้เจาะรูที่ท้องเรือได้ทุกคนก็จะต้องจมน้ำตายหมด

แปลโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร จากหนังสือ "คำชี้แจงข้อเท็จจริงในอิสลาม"
ของ ศ.ดร.มะฮฺมูด ฮัมดี ซักซูก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศาสนสมบัติแห่งสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์