วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553

การขุดศพและชันสูตรศพในมุมของนักวิชาการมุสลิม : กรณีศึกษา การตายที่ไม่ปกติ

การขุดศพและชันสูตรศพในมุมของนักวิชาการมุสลิม : กรณีศึกษา การตายที่ไม่ปกติ

by : อับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์



บทนำ

การขุดศพเพื่อชันสูตรที่ได้ฝังไปแล้วหรือการชันสูตรศพของมุสลิมที่พึ่ง เสียชีวิตตามปกติแน่นอนตามหลักศาสนาอิสลามและมติของบรรดาปราชญ์มุสลิมทั้ง อดีตและปัจจุบันย่อมทำไม่ได้เพราะตามหลักศาสนาตั้งบนพื้นฐานการให้เกียรติ และคุ้มครองคุณค่าอันสูงส่งของความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ในช่วงแห่งการมีชีวิตอยู่เท่านั้น ในสภาวะไร้วิญญาณเหลือแต่เพียงเรือนร่างเปลือยเปล่าที่อาจดูไม่งามตานัก

ศาสนาอิสลามก็ยังคงถือว่า เกียรติยศ และความประเสริฐในการเป็นมนุษย์ยังคงมีอย่างสมบูรณ์ กฎเกณฑ์ต่างๆในการปฏิบัติต่อผู้ตาย ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำศพ การห่อ การละหมาดขอพรและการฝังศพจึงได้บัญญัติขึ้นเป็นหน้าที่ (1ฺ) ในชุมชนหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน ในการจัดการศพที่ได้เสียชีวิตตามขั้นตอนที่ได้ระบุไว้ตามหลักนิติศาสตร์อิส ลาม นอกจากนั้นในการจัดการศพทุกขั้นตอน จะต้องคอยระมัดระวังมิให้กระทบกระเทือนหรือเกิดอันตรายต่อศพ ต้องให้เกียรติต่อศพตามความเหมาะสมภายใต้เจตนารมณ์ของพระเจ้าดังที่พระองค์ ได้ดำรัสความว่า

"และเรา (พระเจ้า)ได้ให้พวกเขา (มนุษย์) เลอเลิศเหนือกว่าสรรพสิ่งอันมากมายที่เราได้ดลบันดาลอย่างล้นเหลือ" (2)
ศาสดามุฮัมมัดได้ตรัสไว้ความว่า "การหัก กระดูกของผู้ตายเปรียบเสมือนการหักกระดูกผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่" (3)
ในขณะเดียวกันตามหลักศาสนาต้องรีบจัดการศพและห้ามมิให้เก็บศพไว้นานเพราะ ท่านศาสดามุฮัมมัดได้ตรัสไว้ความว่า"เมื่อมีบุคคลหนึ่งเสียชีวิต เจ้าจงอย่าอย่ากักขังศพ ทว่าจงรีบนำศพสู่หลุมฝังศพโดยเร่งด่วน" (4์)
นี่คือหลักการเกี่ยวกับศาสนาเกี่ยวกับการจัดการศพตามภาวะปกติ แต่ในกรณีที่ต้องการหรือมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการขุดศพเพื่อชันสูตรศพและ การชันสูตรศพของมุสลิมที่พึ่งเสียชีวิตเพื่อพิสูจน์การฆาตกรรม การเปิดโปงความอยุติธรรมเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมและข้อกังขาของญาติและสังคม นั้นนักวิชาการอิสลามในแต่ละประเทศอนุโลมให้กระทำได้


(1) หลักศาสนาอิสามเรียกว่าฟัรดูกิฟายะฮ
(2) อัลกุรอาน : บทอัลอิสรออฺ :ประโยคที่ 70

(3) วจนะศาสดามุฮัมมัด : บันทึกโดยอิม่ามดาวุด หมายเลข 3207
(4) วจนะศาสดามุฮัมมัด : บันทึกโดยอิม่ามอัฏฏอบรอนีย

2. ทัศนะนักวิชาการโลกมุสลิมเกี่ยวกับการขุดศพเพื่อชันสูตร


จากการศึกษาทั้งคัมภีร์อัลกุรอานและวัจนะศาสดาเกี่ยวกับการขุดศพเพื่อ ชันสูตรและ การชันสูตรศพของมุสลิมที่พึ่งเสียชีวิตเพื่อเหตุผลข้างต้น ปรากฏว่าไม่พบหลักฐานใดๆที่ระบุชัดเจนถึงการห้ามหรืออนุมัติในการกระทำดัง กล่าว อีกทั้งยังไม่พบหลักฐานใดๆยืนยันแน่ชัดว่ามุสลิมยุคแรกทำการชันสูตรศพเหมือน ที่เป็นอยู่ในสมัยปัจจุบัน
จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักวิชาการอิสลามปัจจุบันมีทรรศนะแตกต่างกัน สองทัศนะ คือ

หนึ่ง ไม่อนุญาตให้ทำการดังกล่าวโดยมีเหตุผลดังนี้
ศาสนาตั้งบนพื้นฐานการให้เกียรติและคุ้มครองคุณค่าอันสูงส่งของความเป็น มนุษย์ ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ในช่วงแห่งการมีชีวิตอยู่เท่านั้น ในสภาวะไร้วิญญาณ ศาสนาอิสลามก็ยังคงถือว่า เกียรติยศและความประเสริฐในการเป็นมนุษย์ยังคงมีอย่างสมบูรณ์
กฎเกณฑ์ต่างๆในการปฏิบัติต่อผู้ตาย จะต้องคอยระมัดระวังมิให้กระทบกระเทือนหรือเกิดอันตรายต่อศพ ต้องให้เกียรติต่อศพตามความเหมาะสมเพราะพระเจ้าได้ดำรัสความว่า

"และเรา (พระเจ้า) ได้ให้พวกเขา (มนุษย์) เลอเลิศเหนือกว่าสรรพสิ่งอันมากมายที่เราได้ดลบันดาลอย่างล้นเหลือ" (1)
ศาสดามุฮัมมัดได้ตรัสไว้ความว่า "การหัก กระดูกของผู้ตายเปรียบเสมือนการหักกระดูกผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่" (2)
ท่าน ศาสดามุฮัมมัดยังได้ตรัสอีกไว้ความว่า ท่าน จงอย่าทำร้ายศพ (3)

ดังนั้น การขุดศพ และการชันสูตรศพจึงเป็นการทำร้ายศพ และไม่ให้เกียรติศพในขณะที่การชันสูตรศพนำปสู่ความล่าช้าในการจัดการศพที่ ต้องการเร่งรีบไปรับผลบุญที่ศพจะได้รับในโลกหน้าเป็นการค้านกับวัจน
ศาสดา ที่ท่านได้ได้ตรัสไว้ความว่า "เมื่อมี บุคคลหนึ่งเสียชีวิต เจ้าจงอย่าอย่ากักขังศพ ทว่าจงรีบนำศพสู่หลุมฝังศพโดยเร่งด่วน" (4)

ทัศนะดังกล่าวเป็นทัศนะของนักวิชาการมุสลิมร่วมสมัยบางท่านเช่นชัยคฺมุฮัม มัด ซะกะริยา อัลกันดาฮารีย์ , ชัยคฺมุฮัมมัดบูรฮานุดดีน อัลสันบาฮารีย์ , ชัยคฺมุฮัมมัด บะเคียต , ชัยคฺอัลอารอบีย์ อบูอิยาด อัฏเฏาะบาคีย์และ ชัยคฺมุฮัมมัด อับดุลวะฮฺฮาบ (5)

สอง อนุญาตให้ทำการกระทำดังกล่าวโดยมีเหตุผลดังนี้

เป็นทัศนะส่วนใหญ่ของนักวิชาการโลกมุสลิมร่วมสมัยมากมายเช่น ชัยคฺ ยูซุฟ อัลดะญาวีย์ , ชัยคฺฮุซัยคฺ มัคลูฟ , ชัยคฺอิบรอฮีม อัลยะกูบีย์ , ชัยคฺดร.มุฮัมมัด ซะอีด รอมาฎอน อัลบูฏีย์ , ชัยคฺดร.มะห์มูด นาซิม นุซัยมีย์ และชัยคฺดร. มะห์มูด อาลี อัซัรฏอวีย์ (6) ได้ อนุโลมการชันสูตรศพโดยให้เหตุผลในภาพรวมว่า ในภาวะปกติความเป็นจริงศาสนาให้เกียรติและคุ้มครองคุณค่าอันสูงส่งของความ เป็นมนุษย์ ไม่ว่ามนุษย์จะมีชีวิตหรือเสียชีวิต ซึ่งเป็นหน้าที่ ของผู้มีชีวิตในชุมชนหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการศพที่ได้เสีย ชีวิตตามขั้นตอนที่ได้ระบุไว้ตามหลักนิติศาสตร์อิสลามทุกประการตามหลักฐาน ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นไม่ว่าจะเป็นหลักฐานจากคัมภีร์อัลกุรอาน และวัจนศาสดา ดังนั้นการขุดศพเพื่อชันสูตรที่ได้ฝังไปแล้วหรือการ ชันสูตรศพของมุสลิมที่พึ่งเสียชีวิต เป็นสิ่งต้องห้าม โดยมติของปวงปราชญ์แต่หากสถานการณ์มีความจำเป็น เช่นเห็นคุณประโยชน์อันใหญ่หลวงที่จะเกิดขึ้นทั้งในแง่การดำเนินคดี และในทางการแพทย์จึงอนุโลมให้ทำการชันสูตรพลิกศพเป็นกรณีพิเศษ ที่จำเป็นจริงๆ และได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองของศพ ทั้งการชันสูตรจะต้องเอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้รู้ทางศาสนาอิสลาม และการปฏิบัติต้องเป็นไปอย่างนิ่มนวลละมุนละไม ให้ความเคารพและเกียรติศพพร้อมทั้งต้องระมัดระวังไม่กระทำใดๆ อันเป็นการลบหลู่เกียรติยศของศพและเมื่อเสร็จสิ้นการชันสูตรแล้วให้รีบรวบ รวมชิ้นส่วนของศพทั้งหมดเพื่อนำไปฝังตามหลักการศาสนาที่สำคัญมีคำวินิฉัย (ฟัตวา) ของสถาบันและนักวิชาการในโลกมุสลิมมากมาย ยืนยัน (7) เช่น

1. สถาบันปราชญ์อาวุโสของประเทศซาอุดิอารเบีย (ในมติ การประชุมครั้งที่ 9 หมายเลข 47 ลงวันที่ 14 เดือน ชะฮฺบาน ปี ฮิจเราะห์ศักราชที่ 1396)
2. ศูนย์นิติศาสตร์อิสลาม ของสันนิบาติชาติมุสลิม (ใน มติการประชุมครั้งที่ 10 ประจำเดือน เศาะฟัร ปีฮิจเราะห์ศักราช1408) ใน มติการประชุมครั้งที่ 10
3. สำนักงานสภาการวินิฉัยของอัลอัซฮัรฺ ประเทศ อียิปต์ (ปี ค.ศ.1951 และวันที่29 เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1971)
4. สำนักงานวินิฉัยประเทศอียิปต์ (วินิฉัยโดยมุ ฟตีอียิปต์สมัยต่างๆ ดังนี้ - ชัยคฺ อับดุลมาญีด ซาลีม หมายเลขข้อวินิฉัยที่ 639 ลงวันที่ 26 ชะฮฺบาน ฮ.ศ. 1356 - ชัยคฺ หุซัยนฺ มัคลูฟ วินิฉัยเมื่อปี ค.ศ. 1951)
5. คณะกรรมการถาวรการวิจัยและวินิฉัยประเทศซาอุดิอารเบีย (ในมติการประชุม วันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1936)
6. คณะกรรมการสภาวินิฉัย ประเทศ จอร์เดน (ลงวันที่ 20 เดือนญะมะดิลอาคิรฺ ฮ.ศ.1397)
7. อายาตุลลอฮฺ ซัยยิด อัซซัยตานีย์ ผู้นำชีอะห์ในอิรัค
8. ดร.อะห์หมัด อับดุลการีม นาญีบ
9. ศ.ดร.มุสตอฟา อัลอัรญาวีย์ นักวิชาการชาวอิรัค (เพราะ ประเทศอิรัคมีการขุดศพมุสลิมมากมาย)

สำหรับตำราศาสนาของปราชญ์อิสลามในอดีตเกี่ยวกับการชันสูตรศพนั้นปรากฏว่าไม่ พบหลักฐานใดๆ ที่ระบุชัดเจนถึงการห้ามหรืออนุมัติในการขุดศพเพื่อชันสูตรศพที่ได้ฝังไป แล้วหรือการชันสูตรศพของมุสลิมที่พึ่งเสียชีวิต แต่เราจะพบทรรศนะของบรรดานักปราชญ์ด้านนิติศาสตร์อิสลามเกี่ยวกับสองกรณี กรณีที่หนึ่งการผ่าศพหญิงมีครรภ์ (ที่เสียชีวิต) เพื่อ เอาทารกที่ยังมีชีวิตอยู่ในครรภ์ออกมาและอีกรณีหนึ่งคือการผ่าท้องศพเพื่อ เอาทรัพย์เงินทองบางอย่าง ที่เขาได้กลืนเข้าไปก่อนตายออกมาคืนแก่ผู้เป็นเจ้าของ (เจ๊ะเหล๊าะ แขกพงศ์. "อิสลามกับการชันสูตรศพ" . ไคโรสาร, 2538 : 34)

(1) อัลกุรอาน : บทอัลอิสรออฺ : ประโยคที่ 70
(2) วจนะศาสดามุฮัมมัด : บันทึกโดยอิม่ามดาวุด หมายเลข 3207
(3) วจนะศาสดามุฮัมมัด : บันทึกโดยอิม่ามบุคอรีย์ ในฟัตฮุลบารีย์ของอิบนฺหะญัร 3/258
(4) วจนะศาสดามุฮัมมัด : บันทึกโดยอิม่ามอัฏฏอบรอนีย์
(5) โปรดดูเพิ่มเติมใน
1. http://www.islamselect.com/php2/print_art.php?ref=24990&rb=0
2. http://alwaei.com/topics/view/article.php?sdd=820&issue=474)
3. http://saaid.net/Doat/Najeeb/f113.htm

(6) โปรดดูเพิ่มเติมใน http://saaid.net/Doat/Najeeb/f113.htm
(7)โปรดดูเพิ่มเติมใน
1. http://www.islamweb.net/ver2/Fatwa/ShowFatwa.php?lang=A&Id=6777&Option= FatwaId
2. http://www.islamselect.com/php2/print_art.php?ref=24990&rb=0
3. http://alwaei.com/topics/view/article.php?sdd=820&issue=474
4. http://www.almoslim.net/rokn_elmy/show_question_main.cfm?id=25634
5. http://saaid.net/Doat/Najeeb/f113.htm
6. http://www.safwanet.net/vb/showthread.php?t=9192
7. http://www.ebaa.net/khaber/2003/05/26/khaber04.htm
8. http://alwaei.com/topics/current/article.php?issue=517&sdd=343
9. http://www.islamweb.net/php/php_arabic/ShowFatwa.php?lang=A&Id=19135& Option=FatwaId

3. ทัศนะของบรรดานักปราชญ์ด้านนิติศาสตร์อิสลามในอดีต เกี่ยวการผ่าศพ

ก. สำนักกฎหมายอิสลามฮานาฟี (1)

นักปราชญ์สำนักคิดนี้เช่น อิม่ามอิบนุ อาบิดีน และกลุ่มนักปราชญ์แห่งประเทศอินเดียมีทัศนะว่าศาสนาอนุโลมเกี่ยวกับทั้งสอง กรณีไม่ว่ากรณีที่หนึ่งที่ให้ผ่าท้องเพื่อช่วยเหลือทารกได้ เพราะการช่วยชีวิตทารกมีความสำคัญและจำเป็นยิ่งกว่าการให้เกียรติ ส่วนกรณีที่สองก็เป็นที่อนุโลมเช่นกันเพราะการผ่าศพเพื่อเอาทรัพย์ของผู้ อื่นคืนเจ้าของเป็นสิ่งจำเป็นกว่าและศพเองได้ทำลายเกียรติแห่งความเป็น มนุษย์ของตัวเองให้เสื่อมเสียไปแล้วแต่ อิบนุอัลนะญีม มีความคิดแย้งในกรณีที่สองเพราะความมีเกียรติของศพมีค่ากว่าทรัพย์ (2)

ข.สำนักกฎหมายอิสลามมาลิกี (3)

นักปราชญ์สำนักคิดนี้เช่นอิม่าม ซะฮฺนูนและอับดุลวะฮฮาบมีทัศนะว่าศาสนาอนุโลมเกี่ยวกับทั้งสองกรณี แต่ท่านอิม่ามอับดุลวะฮฮาบได้วางเงื่อนไขว่าทารกจะต้องมีอายุครบ 7 เดือนและแพทย์มั่นใจว่าเมื่อผ่าแล้วเด็กจะต้องปลอดภัย ส่วนท่านชัยคฺอุลัยชฺกลับมีความคิดเห็นไม่อนุญาตในกรณีที่หนึ่งเพราะท่านมอง ว่า ความไม่แน่นอนว่าเด็กจะปลอดภัยหรือไม่ ด้วยความไม่แน่นอนดังกล่าวการผ่าท้องอาจถือได้ว่าเป็นการทำลายเกียรติยศของ ศพและเป็นเสมือนการกักศพไว้ ห้ามมิให้นำศพไปฝังอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นการค้านกับวจนะศาสดาเพราะท่านศาสดา มุฮัมมัดได้ตรัสว่า "เมื่อมีบุคคลหนื่งเสีย ชีวิต เจ้าจงอย่าอย่ากักขังศพ ทว่าจงรีบนำศพสู่หลุมฝังศพโดยเร่งด่วน" (4)

ค.สำนักกฎหมายอิสลามชาฟิอีย์(5) (มุสลิมส่วนใหญ่ในประเทศมาเลเซียและไทยยึดสำนักคิดนี้เป็น แนวปฏิบัติ)

เหล่านักปราชญ์ของสำนักคิดนี้เช่นท่านอิบนุหะญัร ,นาวาวีย์ และคอเต็บ อัรชัรบีนีย์ มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า อนุญาตให้ผ่าท้องศพสตรีมีครรภ์ หากคาดหมายว่าทารกในท้องยังมีชีวิตอยู่และสามารถนำออกมาได้อย่างปลอดภัย ยิ่งไปกว่านั้นท่านชัยคฺอิบนุหะญัรกล่าวว่า "เป็นสิ่งจำ เป็นที่จะต้องทำเช่นนั้น" และท่านคอเต็บ ชัรบีนีย์มีความคิดเห็นยืนยันว่าแม้ศพสตรีได้ถูกฝังไปแล้วหากคาดหมายว่าทารก ยังชีวิตอยู่และมีอายุเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไปให้ขุดศพและผ่าท้องศพนั้นเพื่อเอาทารกในครรภ์ออกมาเพราะการ ดำเนินการเช่นนี้ถือว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อศพก่อนที่จะฝังเสีย อีก แต่หากไม่คาดหวังว่าทารกจะยังมีชีวิตอยู่ก็ไม่จำเป็นต้องขุด ในกรณีของการกลืนทรัพย์ก็เช่นเดียวกับการอนุโลมการขุดศพและผ่าท้องได้หากศพ ได้ถูกนำฝังก่อนผ่าเอาทรัพย์ออก (6)

ง.สำนักกฎหมายอิสลามฮัมบาลีย์ (7)

บรรดานักปราชญ์ในสำนักคิดนี้มีทัศนะที่แตกต่างกันเล็กน้อยเกี่ยวกับเรื่อ งฃองการผ่าท้องศพสตรีที่มีครรภ์โดยท่านสุไลมาน อัลมักดีชีย์ กล่าวว่า เมื่อหญิงมีครรภ์ ถึงความตายให้ผ่าท้องของนางเพื่อเอาทารกในครรภ์ออกมา หากคาดหมายว่าทารกยังมีชีวิตอยู่และไม่สามารถจะนำออกมาทางช่องคลอดได้ แต่ส่วนใหญ่ของนักปราชญ์ในสำนักคิดนี้มีทัศนะว่าไม่อนุญาตให้ผ่า และปล่อยศพค้างไว้จนกว่าทารกในครรภ์จะถึงความตาย แล้วจึงนำไปฝังศพ

ท่านอิบนุ กุดามะฮฺมีความคิดเห็นว่า ไม่อนุมัติให้ผ่าท้องศพหญิงมีครรภ์ แต่ให้หมอผดุงครรภ์ใช้มือล้วงช่องคลอดเพื่อนำทารกออกมาตามช่องปกติเพราะการ ผ่าท้องถือเป็นการหลบลู่เกียรติของศพพร้อมกันนั้นไม่อาจยืนยันได้ว่า ทารกในครรภ์ยังมีชีวิตอยู่เสมอไปก็หาไม่ การลบหลู่เกียรติยศของศพโดยมีเหตุผลเพียงเพื่อช่วยทารกที่ยังไม่แน่นอนว่าจะ มีชีวิตอยู่จึงไม่เป็นที่อนุโลม (8)

สาเหตุที่ปราชญ์หลายคนตามสำนักคิดนี้ที่ไม่อนุโลมการผ่าศพสตรีนั้น เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่า น่าจะมาจากไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดในสมัยนั้นประการหนึ่ง ซึ่งแน่นอนในกรณีนี้หากยินยอมให้ผ่าก็ย่อมเป็นผลร้ายแก่ทารกและเป็นการลบ หลู่เกียรติยศของศพอีกด้วยและอีกประการหนึ่งอาจเป็นสาเหตุมาจากตัวทารกเอง ที่ไม่อยู่ในสภาพอันคาดหวังว่าจะมีชีวิตอยู่ซึ่งหากยินยอมในกรณีนี้บางทีอาจ นำไปสู่การทำให้ศพเสียรูปทรงซึ่งเป็นการลบหลู่ศพ

ส่วนการผ่าศพเพื่อเอาทรัพย์ของเจ้าของคืนนั้น นักปราชญ์ตามสำนักคิดนี้ก็ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันด้วยแต่แนวทางที่มี หลักฐานและเหตุผลชัดเจนกว่าคือแนวทรรศนะที่เห็นว่า อนุโลมการผ่าศพเพื่อเป็นการคุ้มครองคุณค่าแห่งทรัพย์ที่ถูกขโมยและรักษา สิทธิผู้ที่ถูกลิดรอน แต่หากเจ้าของทรัพย์ให้อภัยก็ห้ามมิให้ทำการผ่าศพ

จากความคิดเห็นของปราชญ์ด้านนิติศาสตร์ทั่วโลกทั้งอดีตและปัจจุบัน มีทัศนะว่าการขุดศพเพื่อชันสูตรที่ได้ฝังไปแล้วและการชันสูตรศพของมุสลิมที่ พึ่งเสียชีวิต เป็นสิ่งต้องห้ามแต่หากสถานการณ์มีความจำเป็น เช่นเห็นคุณประโยชน์อันใหญ่หลวงที่จะเกิดขึ้นทั้งในแง่การดำเนินคดีและในทาง การแพทย์จึงอนุโลมให้ทำการชันสูตรพลิกศพเป็นกรณีพิเศษ ที่จำเป็นจริงๆ และได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองของศพ ทั้งการชันสูตรจะต้องเอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้รู้ทางศาสนาอิสลามและการ ปฏิบัติต้องเป็นไปอย่างนิ่มนวลละมุนละไม ให้ความเคารพและเกียรติศพพร้อมทั้งต้องระมัดระวังไม่กระทำใดๆ อันเป็นการลบหลู่เกียรติยศของศพและเมื่อเสร็จสิ้นการชันสูตรแล้วให้รีบรวบ รวมชิ้นส่วนของศพทั้งหมดเพื่อนำไปฝังตามหลักการศาสนา ด้วยเหตุผลสนับสนุนดังนี้

1. ส่วนใหญ่ของปราชญ์ในอดีตมีทรรศนะว่า การผ่าศพสตรีที่มีครรภ์เพื่อช่วยเหลือทารกให้อยู่รอดก็ดี หรือการผ่าศพเพื่อเอาทรัพย์คืนแก่เจ้าของถึงแม้ได้ฝังไปแล้วก็ดีล้วนเป็นที่ อนุโลม ทั้งนี้โดยคำนึงถึงคุณประโยชน์ที่จะได้รับจาการช่วยชีวิตทารกและปกป้องมิให้ ทรัพย์สูญเปล่า ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าความเสื่อมเสียที่จะเกิดแก่เกียรติยศของความเป็น มนุษย์ของศพ โดยใช้หลักทฤษฎีทางนิติศาสตร์อิสลาม (เกาะ วาอิดดุลฟิกฮฺตามหลักศาสนาอิสลาม) ซึ่งบรรดาปราชญ์อิสลามในอดีตได้ วางหลักและกฏไว้เพื่อตัดสินปัญหาต่างๆด้านศาสนาไม่ว่าปัญหาจะเคยเกิดหรือ ปัญหาใหม่ๆ ที่เกิดตามยุคสมัยต่างๆ ขึ้น

หลักทฤษฎีดังกล่าวคือหลักที่ว่าด้วย "อันตราย ร้ายแรงยิ่งย่อมสิ้นไปด้วยภัยที่ด้อยกว่า" ในกรณีข้างต้น การผ่าท้องศพแน่นอนจะต้องเป็นภัยแก่ศพและหากไม่ผ่าก็ย่อมเป็นอันตรายต่อ ชีวิตทารกหรือทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งในทั้งสองประการคือ การผ่าท้องศพและการไม่ผ่าล้วนเป็นภัยอันตรายทั้งสิ้น แต่เนื่องจากภัยในประการหลังมีอันตรายร้ายแรงยิ่งกว่าประการแรกจึงอนุญาตให้ ผ่าเพื่อปกป้องและคุ้มครองชีวิตทารกแม้จะกระทบกระเทือนแก่เกียรติยศของศพ บ้างก็ตาม

การชันสูตรศพ การผ่าศพและแยกธาตุต่างๆนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับกรณีของการผ่าท้องศพ ดังกล่าวมาแล้วและการขุดศพทีเสียชีวิตไปแล้วตามทัศนะของท่านคอเต็บ ชัรบีนีย์ที่มีความคิดเห็นยืนยันว่าแม้ศพสตรีได้ถูกฝัง นำไปสู่ หลักเกณฑ์และวิธีการวินิจฉัยก็เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน

ดังนั้นในภาวะจำเป็นเพื่อทราบถึงสาเหตุแห่งการเสียชีวิต การขุดศพเพื่อการชันสูตร การชันสูตรศพ การผ่าศพและแยกธาตุย่อมได้รับการอนุโลมจากหลักการศาสนาให้ทำได้

ทั้งนี้ด้วยการเล็งเห็นถึงคุณประโยชน์อันใหญ่หลวงที่จะเกิดจากการนั้น ทั้งแง่ในการดำเนินคดีและในทางการแพทย์เมื่อเปรียบเทียบกับความเสื่อมเสีย เกียรติที่จะเกิดแก่ศพ แต่การอนุโลมให้ทำดังกล่าวเป็นการอนุมัติในกรณีพิเศษเฉพาะในกรณีจำเป็นจริงๆ และได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองของศพ ทั้งการชันสูตรจะต้องเอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้รู้ทางศาสนาอิสลามและการ ปฏิบัติต้องเป็นไปอย่างนิ่มนวลละมุนละไม ให้ความเคารพและเกียรติศพพร้อมทังต้องระมัดระวังไม่กระทำใดๆอันเป็นการลบ หลู่เกียรติยศของศพและเมื่อเสร็จสิ้นการชันสูตรแล้วให้รีบรวบรวมชิ้นส่วนของ ศพทั้งหมดเพื่อนำไปฝังตามหลักการศาสนา

2. มีคำวินิฉัย (ฟัตวา) ของสถาบันและนัก วิชาการในโลกมุสลิมมากมายยืนยันการอนุโลม

(1 ) สำนักกฎหมายอิสลามซึ่งปฏิบัติตามอิหม่ามอบูหะนีฟะฮฺ (ฮ.ศ. 80 -150) ท่านมีชื่อเต็มว่า อันนุอฺะมาน อิบนุษาบิต เกิดที่เมืองกูฟะฮฺ ประเทศอิรัค สิ้นชีพ ณ กรุงแบกแดด ประเทศอิรัค เป็นปราชญ์ด้านนิติศาตร์อิสลามผู้ยิ่งใหญ่ หนึ่ง ใน สี่ ของโลกอิสลาม เจ้าของมัษฺฮับ (สำนักกฎหมาย) หะนาฟีย์ ซึ่งมีผู้สังกัดมัษฺฮับของท่านมากมายทั่วโลก หนังสือal - Fikr al - Akhbar เป็นหนังสืออุศูลุดดีนที่เป็นที่รู้จักของอุลามาอ์ทั่วโลก( Abu Zuhrah, n. d. Muhammad. n.d. Tarikh al - Madhahib al -Islamiah. Cairo : Dar al-Fikr al- Arabi : 329 - 362 ; สมาน มาลีพันธ์, ม.ป.ป. อิหม่ามทั้งสี่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ส. วงศ์เสงี่ยม.: 8-38 )

(2) โปรดดูเพิ่มเติมในหนังสือ Rod al-Muktar Ala Rod al-Muktar 1/628, al- Ashbah wa al- Nazoir หน้า 88 และ al- Fatwa al-Hind ,5/360

(3) สำนักกฎหมายอิสลามซึ่งปฏิบัติตามอิหม่ามมาลิก (ฮ.ศ. 93-179)ท่าน มีชื่อเต็มว่ามาลิก อิบนุอะนัส อิบนุมาลิก อิบนุอะบีอะมีรฺ อิบนุอัมรฺ เกิดและสิ้นชีพ ณ เมืองมะดีนะฮฺ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เป็นอุลามาอ์ฟิกฮฺ ผู้ยิ่งใหญ่ หนึ่งใน สี่ ของโลกอิสลาม เจ้าของ มัษฺฮับมาลิกีย์ ซึ่งมีผู้สังกัดทั่วโลก ท่านแต่งหนังสือหลายเล่ม หนังสือที่เป็นที่รู้จักกันในหมู่อุลามาอ์มากที่สุดหนังสือ al-Muwatta ซึ่งเป็นหนังสือหะดีษ และฟิกฮฺ (Abu Zuhrah, n. d. Muhammad. n.d. Tarikh al - Madhahib al - Islamiah. Cairo : Dar al-Fikr al - Arab: 366-406; สมาน มาลีพันธ์, ม.ป.ป. อิหม่ามทั้งสี่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ส. วงศ์เสงี่ยม : 49 - 82)

(4) วจนะศาสดามุฮัมมัด : บันทึกโดยอิม่ามอัฏฏอบรอนีย์และ โปรดดูเพิ่มเติมในหนังสือ Fatwa al- Shayk Alish หน้า130 และ al- Sharh al-Sogir ala Akrab al-Masalik หน้า 1/192)

(5) สำนักกฎหมายอิสลามซึ่งปฏิบัติตามอิหม่ามชาฟิอีย์ (ฮ.ศ.150-204) ท่าน มีชื่อเต็มว่า อบูอับดุลลอฮฺ มุฮัมมัด อิบนุอิดริส อิบนุอัลอับบาส อิบนุอุสมาน อิบนุชาฟิอีย์ เกิดที่ฉนวนกาซา ดินแดน ปาเลสไตน์ สิ้นชีพ ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เป็นอุลามาอ์ฟิกฮฺผู้ยิ่งใหญ่หนึ่งในสี่ของโลกอิสลาม เจ้าของมัษฺฮับชาฟิอีย์ ซึ่งมีผู้สังกัดทั่วโลก ท่านเป็นศิษย์เอกของอิหม่ามมาลิก ท่านมีผลงานการแต่งหนังสืออย่างมากมาย เช่น al-Risalah และ al-Um เป็นหนังสือฟิกฮฺ (al - Baihaki, Abu Bakr Ahmad, 1991. Marifat al - Sunan wa al - Athar. Berut : Dar al - Kutub al - Ilmiah: 2/23-29 )

(6) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Tuhfat al- Muhtaj หน้า 3/203 ,al-Majmua หน้า 5/300 Mughni al-Muhtaj หน้า 1/207)

(7) สำนักกฎหมายอิสลามซึ่งปฏิบัติตามอิหม่ามอิหม่ามอะหฺมัด อิบนุฮัมบัล (ฮ.ศ.164 - 241) มีชื่อเต็มว่า อะหฺมัด อิบนุฮัมบัล อิบนุหิลาล เกิดและสิ้นชีพ ณ กรุงแบกแดด ประเทศอิรัก ท่านเป็นอุลามาอ์ฟิกฮฺผู้ยิ่งใหญ่หนึ่งในสี่ของโลกอิสลาม เป็นเจ้าของมัษฺฮับฮัมบะลีย์ ซึ่งมีผู้สังกัดมากมายทั่วโลก ท่านอิหม่ามไม่แต่งหนังสือฟิกฮฺเลย แต่ทัศนะต่างๆ ของท่านนั้นได้รับการถ่ายทอดจากสานุศิษย์ของท่าน เพราะท่านกลัวว่าประชาชนจะสนใจหนังสือของท่านจนลืมกุรอานและหะดีษดังนั้น ท่านจึงได้แต่งหนังสือหะดีษจนเป็นที่รู้จักถึงทุกวันนี้คือal-Musnad (Abu Zuhrah, n. d. Muhammad. n.d. Tarikh al - Madhahib al - Islamiah. Cairo : Dar al-Fikr al - Arab: 451-504)

(8) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Tashih al-Furua หน้า 691 al-Mughni หน้า 2/413

4. กรณีศึกษาภาคใต้ของประเทศไทย

เหตุการณ์ภาคใต้มีผู้เสียมากมายเช่นปริศนาการเสียชีวิต 85 ศพ ในเหตุการณ์ประท้วงที่สถานีตำรวจอำเภอตากใบ (1) ใน อดีตหรือการเสียชีวิตในที่อื่นๆ ในภาคใต้ในสภาวะปัจจุบันซึ่งเป็นภาวะไม่ปกติและการเสียชีวิตอย่างปริศนาอื่น อีกในอนาคตนั้น ผู้เขียนมีทัศนะว่า การชันสูตรศพน่าจะเป็นทางออกอีกวิธีหนึ่งที่จะได้ทราบปริศนาของการตาย (2)
ดังนั้นสำนักจุฬาราชมนตรีหรือสำนักงานคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ชมรมอุลามาอฺ (3) องค์ เอกชนมุสลิมอื่น เครือข่ายการทำงานเพื่อประชาชนต่างๆ น่าจะนำแนวคิดการชันสูตรศพไปพิจารณาและวางกรอบเพื่อง่ายต่อหน่วยงานของรัฐ, เอกชนและประชาชนในการปฏิบัติเพราะกฎหมายอิสลามเหมาะสมแก่ทุกยุคทุกสมัย หลักการบางอย่างมีความยืดหยุ่นเปิดกว้างให้มุสลิมมีความสะดวกในการเลือก ปฏิบัติ จึงเป็นหน้าที่ของมุสลิมที่จะต้องหมั่นศึกษาเพื่อทราบถึงข้อบัญญัติทางศาสนา ว่ากว้างขวางและแคบเพียงใดเพื่อการมีชีวิตอยู่อย่างสะดวกสบาย ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญหนึ่งของอิสลามและเพื่อปัญหาบางอย่างที่มักจะเกิดขึ้น ระหว่างมุสลิมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐเช่นการชันสูตรศพจะได้หมดไป อีกทั้งเพื่อความยุติธรรมแห่งกฎหมายจะได้แผ่กระจายครอบคลุมถึงคนทั้งชาติโดย ไม่เลือกว่าจะนับถือศาสนาใด

(1) 25/10/47
(2) อันเนื่องมาจากชุมชนมุสลิมยังมีความเข้าใจว่าต้องรีบทำพิธีฝังศพตามหลัก ศาสนาภายใน 24 ชั่วโมงทำให้ภาครัฐไม่สามารถชันสูตรศพได้ และ นี่คือทัศนะของผู้เขียนที่ศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับหลักการศาสนาซึ่งอาจมี นักวิชาการด้านศาสนาคนอื่นแย้งก็เป็นสิทธิที่จะกระทำได้หากอยู่บนหลักทาง วิชาการศาสนา (3) ผู้รู้ด้านอิสลามศึกษา

5. สรุป

ในภาวะจำเป็นเพื่อทราบถึงสาเหตุแห่งการเสียชีวิต การขุดศพเพื่อการชันสูตร การชันสูตรศพ การผ่าศพและแยกธาตุซึ่งนักวิชาการมุสลิมยอมรับ ทั้งนี้ด้วยการเล็งเห็นถึงคุณประโยชน์อันใหญ่หลวงที่จะเกิดจากการนั้นทั้ง แง่ในการดำเนินคดีและในทางการแพทย์เมื่อเปรียบเทียบกับความเสื่อมเสีย เกียรติที่จะเกิดแก่ศพ แต่การอนุโลมให้ทำดังกล่าวเป็นการอนุมัติในกรณีพิเศษเฉพาะในกรณีจำเป็นจริงๆ และได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองของศพ ทั้งการชันสูตรจะต้องเอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้รู้ทางศาสนาอิสลามและการ ปฏิบัติต้องเป็นไปอย่างนิ่มนวลละมุนละไม ให้ความเคารพและเกียรติศพพร้อมทังต้องระมัดระวังไม่กระทำใดๆ อันเป็นการลบหลู่เกียรติยศของศพและเมื่อเสร็จสิ้นการชันสูตรแล้วให้รีบรวบ รวมชิ้นส่วนของศพทั้งหมดเพื่อนำไปฝังตามหลักการศาสนา


นายอับดุชชะกูร์ บิน ชาฟิอีย์ ดินอะ(อับดุลสุโก ดินอะ)
ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา
อาจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
Shukur2003@yahoo.co.uk
http://www.oknation.net/blog/shukur

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น